LONG-TAIL KEYWORDS คืออะไร? แบบลงลึก

LONG-TAIL KEYWORDS คืออะไร? แบบลงลึก

เอาเร็วๆ ง่ายๆ ก็คือ Keywords ที่ยาวมากกว่า 3 คำขึ้นไป โดยเพิ่มคำที่เจาะจงลงไปที่ตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) หรือเรียกว่าการ Niche Down อย่างเช่น คำหลัก “Notebook” เราอาจจะเจาะลงไปได้แบบนี้

  • Notebook For Kids
  • Notebook For Kids Ages 4-8
  • Dinosaur Notebook For Kids Ages 4-8
  • Dinosaur Large Notebook For Kids Ages 4-8

พอจะเริ่มเห็นภาพนะครับ ทีนี้มาทำความเข้าใจกันมากขึ้น โดยดูจากรูปด้านบน บริเวณกราฟด้านบนจะเป็นคำโดดๆ เช่น “Notebook” ซึ่งจะมีจำนวนคนค้นหาเยอะ (High Traffic) คู่แข่งก็เยอะ (Highly Competitive) และตามมาด้วยโอกาสในการขายน้อย (Low Conversion) เนื่องจากการค้นไม่ได้ระบุอะไรที่ชัดเจน ตัวอย่างง่ายๆ เช่น เราค้นคำว่า “ทีวี” ก็แล้วกัน จะเห็นว่าเราไม่ได้ต้องการจะซื้อทันทีจากการค้นครั้งนี้แน่นอน

ถัดลงมาจะเป็นคำที่เจาะจงมากขึ้น เอาตัวอย่างเป็น “สมาร์ททีวี” ละกันครับ เข้าใจง่ายดี ส่วนใหญ่คีย์กลุ่มนี้แหละที่จะเริ่มมีการใช้กัน แต่การจะขึ้นอันดับบนๆ ได้นั้นจะต้องทำตลาดค่อนข้างเยอะ เอาจริงๆ คนที่ยึดครองคีย์พวกนี้ส่วนใหญ่ไม่ได้เน้นฟรีทราฟฟิกอยู่แล้ว แต่ขายดีจนได้ตำแหน่งตรงนี้ไป ซึ่งเราแข่งกับเขาค่อนข้างยากและใช้เวลา

ส่วนล่างสุดของกราฟที่ลากไปจนเหมือนหางยาวๆ นี่แหละครับ ที่เรียกกันว่า Long-Tail เวลาเราพูดถึง Long-Tail Keywords ก็คือคีย์ที่กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ส่วนของหางยาวๆ ตรงนี้ ไม่ว่าจะเป็นการระบุถึงกลุ่มคน ความชอบ หรือลักษณะพิเศษของสินค้าก็ได้

ด้วยความเจาะจงของมัน ข้อดีก็คือคู่แข่งจะน้อย (Low Competitive) แต่จำนวนคนค้นก็น้อยตามนะ (Low Traffic) และข้อดีอีกอย่าง แน่นอนว่าค้นมาละเอียดขนาดนี้ ส่วนใหญ่ก็คือเขาหาซื้อของที่ต้องการจริงๆ จึงทำให้โอกาสในการขายได้สูงตามมา (High Conversion)

วิธีการทำ Long-Tail Keywords คือเราจะค่อยๆ Niche Down หรือใส่คำที่เจาะจงลงไปเรื่อยๆ จากคำหลัก โดยเริ่มที่กลุ่มคนก่อน เช่น อาชีพ งานอดิเรก สถานที่ ฯลฯ จากนั้นก็อาจจะลงไปที่ลักษณะ เช่น เพศ อายุ แล้วอาจต่อด้วยความชอบ เช่น ผลไม้ที่ชอบ สัตว์เลี้ยงที่ชอบ นอกจากนั้นก็อาจจะเจาะลงไปที่คุณสมบัติเฉพาะของสินค้าเราเข้าไปอีก อันนี้แล้วแต่สถานการณ์ไม่ตายตัว ส่วนใหญ่ก็จะอิงกับ Search Suggestion ไว้ก่อน

อย่าลืมว่าเราต้องคิดถึงกลุ่มคน (Niche) ที่เป็นเป้าหมายก่อน แล้วใช้ Keywords เป็นตัวเรียกเขาเข้ามาหาเรา ถ้าไม่งั้นคีย์เราก็อาจจะมั่วมากๆ ได้ คือ Title กับ Subtitle หรือคีย์ 7 คำ ไปกันคนละที่ละทางคนละกลุ่มไปหมดแบบนี้

มาดูตัวอย่างคีย์แบบมีค่าสถิติกันครับ

  • “Sketch book”  จำนวนคู่แข่ง 100,000 จำนวนการค้นต่อเดือน 597,700
  • “sketch book for kids” จำนวนคู่แข่ง 70,000 จำนวนการค้นต่อเดือน 7,400
  • “sketch book for kids ages 4-8” จำนวนคู่แข่ง 10,000 จำนวนการค้น 200
  • “sketch book for kids ages 9-12” จำนวนคู่แข่ง 10,000 จำนวนการค้น 200
  • “sketchbook for kids cat” จำนวนคู่แข่ง 10,000 จำนวนการค้น < 100
  • “sketch book for kids dinosaur” จำนวนคู่แข่ง 9,000 จำนวนการค้น < 100
  • “sketchbook for kids animals lover” จำนวนคู่แข่ง 8,000 จำนวนการค้น < 100
  • “sketchbook for kids extra large” จำนวนคู่แข่ง 3,000 จำนวนการค้น < 100
  • “story board sketch book for kids” จำนวนคู่แข่ง 2,000 จำนวนการค้น < 100
  • “fashion sketchbook with figure templates kids” จำนวนคู่แข่ง 528 จำนวนการค้น < 100

เดี๋ยวมาต่อเทคนิคการหา Keywords ดีๆ มาใช้กันครับผม

 

Phowpinyo Shimbhanao

บทความโดย Phowpinyo Shimbhanao

เผยแพร่แล้ว 18 Sep 2022